" รู้จริงเพราะลงมือทำ # ข้อจำกัดของ SAR ต่อการควบคุมไวรัสจุดวงแหวนมะละกอ " โลกนี้ไม่มียาวิเศษ น่าจะเป็นคำกล่าวที่เหมาะสมที่สุด..

ลงวันที่ 29/10/2558 ดูแล้ว 1057 ครั้ง

" รู้จริงเพราะลงมือทำ # ข้อจำกัดของ SAR ต่อการควบคุมไวรัสจุดวงแหวนมะละกอ " โลกนี้ไม่มียาวิเศษ น่าจะเป็นคำกล่าวที่เหมาะสมที่สุด..ยาทุกตัวในโลกนี้ล้วนมีข้อจำกัด ในการใช้..เทคนิคการใช้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการวัดผลประสิทธิภาพของยา..การใช้เทคนิค SAR ในการควบคุมไวรัสจุดวงแหวนก็เช่นกัน...ต้องมีวิธีการใช้ที่เหมาะสมตามหลัก การและการใช้ยาที่ถูกต้อง..แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะคาดหวังว่า..ยาไวรัสต้องเป็นยาวิเศษ สามารถดลบันดาลให้มะละกอรอดจากจากไวรัสได้ 100%..แน่นอนครับ ถ้ามีการใช้อย่างถูกวิธี โอกาสรอดจากไวรัสมีถึง 80 % ซึ่งเป็นค่าที่เกษตรกรต้องยอมรับได้ เพราะโลกนี้ไม่มียาวิเศษ..การกระตุ้นภูมิต้านทานโดยเทคนิค SAR จะเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของพืชทั้ง ใบ ผล ลำต้น หรือแม้กระทั่งราก..แต่ภูมิต้านทานจะเกิดได้ดีที่สุดที่ใบ..ฉะนั้นการพ่นยาจึงต้องเน้นใบให้เปียกโชกและชุ่ม..ทุกครั้ง และสิ่งสำคัญที่อยากจะบอกเรื่อง SAR ที่ทุกคนควรเข้าใจคือ ภูมิต้านทานจะลดลงทุกๆ 15 วัน หากไม่พ่นยาต่อเนื่องจะทำให้มะละกอเสี่ยงที่จะติดไวรัสอีกครั้ง...คำแนะนำจึงจำเป็นต้องให้พ่นยาทุกๆ 10 วันเพื่อกระตุ้นให้กลไก SAR ทำงานอยู่ตลอดเวลา และต้องให้เปียกโชกด้วย..ครับ..รู้จริงเพราะลงมือทำ..ตอนต่อไปจะเขียนเรื่องปัจจัยที่ทำให้หลายๆคนใช้ยาไม่ได้ผล เหตุผลคืออะไร โปรดติดตาม...อัศวินม้าขาว...

สำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เลขที่ 50 อาคารวิทยบริการ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 02 942 8820 - 9 ภายใน มก.611336-9 โทรสาร : 02 942 8820 - 9 ต่อ 111
ติดต่อผู้ดูแลระบบ : etoku@ku.ac.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายคุกกี้