OA001
หลักสูตรลูกเรือ (CABIN CREW PROGRAM)

ตรวจสอบรายชื่อวิชา: หลักสูตรลูกเรือ (CABIN CREW PROGRAM)
วิทยากร:
-
แนววิชาเรียนโดยสังเขป:
การจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นนี้ เกิดจากความตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรด้านการบิน โดยเฉพาะพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เนื่องจากอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยและทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความต้องการบุคลากรด้านการบินเพิ่มขึ้น สายการบินต่างๆ ต้องแข่งขันกันเพื่อดึงดูดลูกค้า การมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีคุณภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความแตกต่าง การพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านความปลอดภัย และในด้านการบริการ โดยการอบรมหลักสูตรดังกล่าวเป็นประเภทประกาศนียบัตร การจัดการด้านการบินซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลของ ICAO IATA EASA และ CAAT โดยผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ตามเงื่อนไขจะได้รับประกาศนียบัตรจาก ICAO /IATA หรือ EASA
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียน และบุคลากรด้านธุรกิจการบินให้มีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการบิน
- เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทาง ในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การให้บริการลูกค้า การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการบิน และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของสายการบินและองค์กรระหว่างประเทศ
- เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสูง มีความรู้ความสามารถ และทัศนคติที่ดี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน
- เพื่อยกระดับขีดความสามารถสู่มาตรฐานสากล ด้วยประกาศนียบัตรจากองค์กรการบินระดับโลก เช่น IATA ICAO EASA รับรองความเชี่ยวชาญ (Skills) เปิดโอกาสก้าวสู่สายอาชีพทั่วโลก
รายวิชาที่อบรม
1. หมวดวิชาการสื่อสารด้านการบิน
1. English for communication | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
2. Aviation English 1-2 | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
2. หมวดการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านการบิน
1. Technology and computers | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
2. Hospitality Psychology | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
3. Personality Development | จำนวน | 16 ชั่วโมง |
4. Attitude and Mindset | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
5. Customer service | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
3. หมวดมาตรฐานการบินระดับสากล
1. Introduction to Airline Industry | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
2. Aircraft Fundamental | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
3. Unruly | จำนวน | 12 ชั่วโมง |
4. SMS | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
5. DG | จำนวน | 24 ชั่วโมง |
6. AVSEC | จำนวน | 12 ชั่วโมง |
7. HF | จำนวน | 30 ชั่วโมง |
8. CRM | จำนวน | 8 ชั่วโมง |
9. Aviation First Aid | จำนวน | 18 ชั่วโมง |
10. Inflight Service | จำนวน | 40 ชั่วโมง |
11. Safety Emergency Procedure | จำนวน | 40 ชั่วโมง |
กลุ่มเป้าหมายและแผนการรับ
1. กลุ่มเป้าหมาย
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. แผนการรับ จำนวน 30 คน/รุ่น
3. สถานประกอบการ คู่ความร่วมมือ
- บริษัทไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด
4. ระยะเวลาของหลักสูตร (จำนวนชั่วโมง) : 470 ชั่วโมง
รุ่นที่ 1 : ธันวาคม
5. ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ไทย อังกฤษ
6. รูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในห้องเรียน (Onsite Learning) ทั้งหมด
สถานที่ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. ผลลัพธ์ผู้เรียน
- ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต้อนรับบนเครื่องบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้เข้ารับการอบรมจะมีทักษะที่หลากหลาย เช่น การสื่อสาร การให้บริการลูกค้า การปฐมพยาบาล และการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสายอาชีพนี้
- ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความพร้อมในการเข้าทำงานในสายการบินต่างๆ และสามารถปฏิบัติงานได้ทันที
- ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความเข้าใจในมาตรฐานความปลอดภัยในการบินทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
- ผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งเป็นการรับรองทักษะความรู้และความสามารถ โดยองค์กรการบินมาตรฐานสากล เช่น ICAO, IATA หรือ EASA
8. การประเมินผลผู้ผ่านการอบรม
8.1 เกณฑ์การประเมิน
1. การวัดผลการเรียนเป็นรายวิชา นักศึกาาจะต้องสอบผ่านด้วยเกณฑ์คะแนน 80% ขึ้นไปของแต่ละชุดข้อสอบภาคทฤษฎี 80% และการประเมินในภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
2. ใช้หลักเกณฑ์การประเมินนักศึกษาแบบ อิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced Assessment) ซึ่งเป้นการประเมินรายบุคคลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยแบ่งการประเมินเป็น ดังนี้
2.1 การประเมินการแสดงออก (Performance)
เป็นการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล และสังเกตความสนัมพัน์ระหว่างกลุ่ม หรือการทำงานเป็นกลุ่ม จากพฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะที่นักศึกษาอยู่ในห้องเรียนภาคทฤษฎีหรือ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง (Mockup) โดยสิ่งที่สังเกตจะประกอบไปด้วย การสังเกตสีหน้า ท่าทางในการแสดงออก การพูดโต้ตอบ พัฒนาการทางด้านภาษา มีความเข้าใจในเรื่องราวเนื้อหาที่เรียน เป็นต้น
2.2 การประเมินกระบวนการ (Process)
จะใช้การสังเกตควบคู่กับการแสดงออก โดยผู้สอนจะสังเกตการเคลื่อนไหว กริยา ท่าทาง ความร่วมมือ ความคล่องแคล่ว ความอดทน ความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในระหว่างการเรียนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมทั้งสังเกตการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และเพื่อนร่วมหลักสูตรด้วย เป็นต้น
3. รูปแบบของข้อสอบ
นักศึกษาจะต้องสอบผ่านด้วยเกณฑ์คะแนน 80% ขึ้นไปของแต่ละชุดข้อสอบภาคทฤษฎี 80% และการประเมินในภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
3.1 ภาคทฤษฎี
- การสอบปากเปล่า (Oral Test)
- ข้อสอบปรนัย (Multiple Choices)
- ข้อสอบอัตนัย (Essay Writing)
3.2 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
9. ค่าลงทะเบียน /คน
ผู้เข้าฝึกอบรมจะต้องชำระค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 8 เดือน ค่าหน่วยกิต ค่าเอกสารการเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน รวมทั้งสิ้น 450,000 บาท
หลักเกณฑ์การรับสมัคร:
จำนวนที่รับ 30 คน